Pages

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบงานในองค์กรเเละงานด้านบริหารในโลกยุคใหม่มีการเเข่งขันอย่างรุนเเรง ยุคของการค้ารูปเเบบใหม่โดย ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเพิ่มช่องทางการค้าขาย 

2.ความหมายของอีคอมเมอร์ซ (E-Commerce) 

อีคอมเมิร์ซ หรือชื่อเเปลเป็นไทยว่า "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" หมายถึงการดำเนินธุรกิจซื้อขายโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เเละคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ E-Business อ่านว่า อี-บิสีเน็ส หมายถึงการทำกิจกรรมทุก ๆ อย่างทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

3.ความเป็นมาของอีคอมเมิร์ซ 

ปัจจุบันยังคงมีการเเลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าบริษัทด้วยการใช้ระบบไปรษณีย์ เเละอีหลายบริษัทใช้วิธีป้อนข้อมูลลงในโปรเเกรมเเบบฟอร์มทางธุรกิจไม่ว่าเป็นใบสั่งซื้อใบสิรค้า ใบเสร็จรับเงินเเละจัดพิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ 

4.ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซ 

ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อบุคคล มีดังนี้ 
1.มีสินค้าเเละ บริการราคาถูกจำหน่าย 
2.ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ่น 
3.สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง 
4.ทราบ้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเเละบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว 
5.ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด 
6.สนับสนุนการประมูลเสมือนจริง 
7.ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับลูกค้าสามารถติดต่อกับลูกค้ารายอื่นในการเเลกเปลี่ยนความคิดเห็น 
8.ทำให้เกิดการเชื่อมโยงการดำเนินงานภายในโซ่มูลค่า 

ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อองค์การธุรกิจ มีดังนี้ 

1.ขยายตลาดในระดับประเทศเเละระดับโลก 
2.ทำให้บริการลูกค้าได้จำนวนมากทั่วโลกด้วยต้นทุนที่ต่ำ 
3.ลดปริมาณเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวณ การกระจาย การเก็บเเละการดึงข้อมูลได้ถึงร้อยละ90 
4.ลดต้นทุนการสื่อสารโทรคมนาคม เพราะอินเทอร์เน็ตราคาถูกกว่าโทรศัพท์ 
5.ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถเเข่งขนกับบริษัทขนาดใหญ่ได้ 
6.ทำให้การจัดการผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ่น 

ประโยชน์อีคอมเมิร์ซต่อสังคม มีดังนี้ 

1.สามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้มีการเดินทางน้อยลง 
2.การซื้อขายสินค้าราคาถูกลง 

ประโยชน์ระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้ 

1.กิจการ smeในประเทศกำลังพัฒนาอาจได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางในระดับโลก 
2.ทำให้กิจการในประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้
3.บทบาทของพ่อค้าคนกลางลดลง ทำให้ต้นทุนการซื้อขายลดลง 
4.ทำให้ประชาชนในชนบทได้หาสินค้าหรือบริการได้เช่นเดียวกับในเมือง 
5.เพื่มความเข้มข้นของการเเข่งขัน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค 

5ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซ 

ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านเทคนิค มีดังนี้ 
1.ขาดมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ ความปลอดภัยเเละความน่าเชื่อถือ 
2.ความกว้างของช่องทางการสื่อสารมีจำกัด 
3.ซอฟต์เเวร์อยู่ระหว่างกำลังพัฒนา 
4.ปัญหาความเข้ากันได้ระหว่างอินเทอร์เน็ตเเละซอฟต์เเวร์ของอีคอมเมิร์ซกับเเอพพลิเคชั่น 
5.ต้องการ Web Server เเละ Networt Server ที่ออกเเบบมาเป็นพิเศษ 
6.การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังมีราคาเเพงเเละไม่สะดวก 

ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านกฎหมาย มีดังนี้ 

1.กฎหมายที่สามารถคุ้มครองการทำธุรกรรมข้ามรัฐหรือข้ามประเทศ ไม่มีมาตรฐานที่เหมือนกัน เเละมีลักษณะที่เเตกต่างกัน 
2.การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือลายมื่อชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่ 

3.ปัญหาเกิดจากการทำธุรกรรม เช่น การส่งสินค้ามีลักษณะเเตกต่างจากที่โฆษณาบนอินเทอร์เน็ต จะมีการเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่ 

ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านธุรกิจ มีดังนี้ 

1.วงจรผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) จะสั้นลงเพราะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ง่ายเเละรวดเร็ว 

2.ความพร้อมของภูมิภาคต่างๆ 
3.ภาษีเเละค่าธรรมเนียมจาก E-Commerce 
4.ต้นทุนในการสร้าง E-Commerce 
5.ประเทศกำลังพัฒนาต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสูงมาก 
6.เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดการฟอกเงินได้ง่าย 

ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้าน อื่นๆ มีดังนี้ 

1.การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จบนอินเทอร์เน็ต 
2.สิทธิส่วนบุคคล ระบบบการจ่ายเงินหรือการให้ข้อมูลของลูกค้า 
3.E-Commerce เหมาะกับระบบเศรษฐกิจที่สามารถเชื่อถือเเละไว้วางใจได้ทั้งผู้ซื้อเเละผู้ขาย 
4.ยังไม่มีการประเมินผลการดำเนินงาน 
5.จำนวนผู้ซื้อ/ผู้ขายที่ได้กำไรหรือประโยชน์จากE-Commerce ยังมีจำกัด 

6โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ

การนำอีคอมเมิร์ซ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ จำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานของเทคโนโลยี เเบ่งเป็นองค์ประกอบหลักได้5 ส่วน
1.การบริการทั่วไป เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกเเละรวดเร็ว
2.ช่องทางการติดต่อสื่อสาร เป็นช่องทางติดต่อสื่อสาร
3.รูปเเบบของเนื้อหา เป็นการจัดรูปเเบบเนื้อหาเพื่อการนำเสนอสินค้า
4.ระบบเครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั่งเเต่2 เครื่องขึ่นไป
5.ส่วนประสานกับผู้ใช้ เป็นส่วนที่ใช้ในการติดต่อระหว่างผู้ใช้บริการผ่านโปรเเกรม Web

7.ประเภทของอีคอมเมิร์ซ

อีคอมเมิร์ซ สำหรับธุรกิจค้ากำไร สามารถเเบ่งตามความสัมพันธ์ออกได้6ประเภท
 1.เเบบธุรกิจกับธุรกิจ
เป็นเเบบทำธุรกรรมการค้าระหว่างผู้ประกอบกับผู้ประกอบ
2.เเบบธุรกิจกับผู้บริโภค
เป็นรูปเเบบของการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้ประกอบกับผู้บริโภคโดยตรง
3.เเบบผู้บริโภคกับผู้บริโภค
เป็นรูปเเบบของการทำธุรกิจกรรมทางการค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคโดยตรง
4.เเบบผู้บริโภคกับธุรกิจ
เป็นรูปเเบบของการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการ
5.เเบบธุรกิจกับรัฐบาล
เป็นรูปเเบบการจำหน่ายสินค้าเเละบริการโดยตรงจากผู้ค้ากับรัฐบาล
6.เเบบโมบายคอมเมิร์ซ
เป็นรูปเเบบการค้าในระบบไร้สาย
8.ขั้นตอนการค้าเเบบอีคอมเมิร์ซ

การทำธุรกิจในระบบอีคอมเมิร์ซ มีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.เเนะนำสินค้า/บริการด้วยการออกเเบบเเละจัดทำเว็บไซต์ โดยจัดทำขึ่นเองหรือใช้บริการจากบริษัทที่รับออกเเบบเเละจัดทำเว็ปไซต์
2.สั่งซื้อสินค้าเเละบริการ เมื่อผู้ซื้อพบสินค้า หรือบริการที่ต้องการก็จะดูรายละเอียดปลีกย่อยที่เกี่ยวข้องว่าสินค้าหรือบริการเป็นอย่างไร
3.การชำระค่าสินค้าหรือบริการทางอินเทอร์เน็ต เมื่อรายการสินค้าหรือบริการถูกส่งไป การชำระค่าสินค้าก็จะเป็นไปตามทางเลือกของระบบอีคอมเมิร์ซื้ผู้ขายได้จัดทำไว้
4.การจัดส่งสินค้าหรือบริการหลักจากที่มีการตกลงวิธีการชำระค่าสินค้า หรือบริการเเละวิธีการจัดส่งเเล้ว 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes