การนำเทคโนโลยี Web Service มาประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจ
ปัจจุบันนี้เราจะเห็นว่าธุรกิจการขายสินค้าและบริการต่างๆ
ได้ผันตัวเองเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้ได้มากขึ้นทั่วโลกและเพื่ออํานวยความสะดวกในการดําเนินธุรกิจได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ทําให้มีสินค้าและบริการต่างๆ อยู่มากมายบนโลกของอินเทอร์เน็ต แต่โดยส่วนมากแล้วเว็บไซต์หนึ่งก็จะขายสินค้าหรือบริการอย่างหนึ่ง
ถ้าลูกค้าต้องการสินค้าหรือบริการชนิดใดก็สามารถค้นหาและใช้บริการเว็บไซต์ที่ให้บริการสินค้าและบริการนั้นๆ
ได้ ซึ่งถ้าลูกค้าต้องการสินค้าและบริการชนิดเดียวก็คงจะไม่มีปัญหาใดๆ แต่ถ้าลูกค้าต้องการสินค้าหรือบริการที่มากกว่า
1 อย่างในเวลาเดียวกันจะทําอย่างไร ปัญหานี้เราสามารถนําเอาเทคโนโลยี Web Services มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริการแบบ One
Stop Service ได้อย่างง่ายดาย เนื่องจาก Web Services มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานการทํางานบนระบบที่ต่างกันได้ โดยการติดต่อกับผู้ใช้ผ่านทาง
Web Application ซึ่งการประยุกต์ใช้ในลักษณะนี้ผู้ใช้ จะรู้เพียงว่า
เมื่อเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราก็จะได้รับบริการที่ครบวงจรเช่นบริการการท่องเที่ยว,
บริการสถานที่พักผ่อนและสันทนาการ เป็นต้น ในเรื่องของความปลอดภัย
เนื่องจาก Web Service ทํางานอยู่บน Internet ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการรักษาความปลอดภัยมากมายรองรับอยู่แล้ว และ Web
Services สามารถผ่านระบบรักษาความปลอดภัย (Firewall) ได้เนื่องจาก SOAP ถูกส่งโดยผ่านโปรโตคอล HTTP
นอกจากนี้ Web Services ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานของ
PKI (Public Key Infrastructure) เช่น MD5 (Message
Digest), SSL (Secure Socket Layer) และ PGP (Pretty Good
Privacy) ทําให้มั่นใจได้ว่าการใช้ Web Services เป็นเครื่องมือธุรกิจมีมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยรองรับ
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา Web Services ก็มีอยู่มากมาย เนื่องจาก Web Services เป็นมาตรฐานที่พัฒนาได้ง่าย
เพราะอยู่ในรูปแบบของข้อมูลตัวอักษรหรือ ภาษา XML
ชุดเครื่องมือที่สนับสนุนการพัฒนา
Web
Services มีมากมาย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ได้
ดังนี้
1. ชุดเครื่องมือที่สนับสนุนโดย Microsoft ตาม Platform
ของ Microsoft .NET Framework
2. ชุดเครื่องมือที่สนับสนุนโดย Sun Microsystems ตาม Platform
ของ Sun ONE (Sun Open Net Environment)
3. ชุดเครื่องมือที่สนับสนุนโดย IBM เช่น Web
Services Toolkit
4. ชุดเครื่องมืออื่นๆที่สนับสนุน
SOAP, XML ทั้งที่เป็น Commercial Product และ Open
Source
ดังนั้น
จึงมั่นใจได้ว่าระบบขององค์กรสามารถดําเนินธุรกิจโดยใช้ Web Services เป็นเครื่องมือได้อย่างแน่นอน และที่สําคัญคือ
การนําเครื่องมือเหล่านี้ไปใช้ แต่ละองค์กรไม่จําเป็นต้องเปลี่ยนระบบการทํางานที่มีอยู่เดิม
เพียงนําเครื่องมือที่เหมาะสมกับ Platform ของระบบที่ใช้อยู่มาเสริมเข้าไปในระบบเดิมและปรับให้ระบบเดิมสามารถประสานการทํางานกับเครื่องมือนั้นๆ
เท่านี้องค์กรก็สามารถดําเนินธุรกิจโดยใช้ Web Services เป็นเครื่องมือทันที
ยกตัวอย่างเช่นการจองตั๋วเครื่องบิน-จองโรงแรม
ถ้าเราต้องการไปท่องเที่ยวต่างประเทศประมาณ
1 สัปดาห์ โดยต้องการเช่ารถเพื่อไปเที่ยวในเมืองต่างๆ
และพักค้างคืนที่โรงแรมในเมืองนั้นๆ ในการท่องเที่ยวในลักษณะนี้บริษัททัวร์ต่างๆ
จะไม่มีจัดให้ และถ้าเราจะโทรไปต่างประเทศเพื่อขอข้อมูลและทําการจองตั๋วเครื่องบิน
ห้องพัก และรถเช่าก็คงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดต่ออย่างมาก ทางที่ดีที่สุดคือ การใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต
แต่เราก็ต้องเข้าไปในเว็บไซต์บริการดังกล่าวเพื่อทําการหาข้อมูลและทําการจองบริการเหล่านี้ทีละเว็บไซต์
และก็ไม่แน่ว่าทุกบริการนั้นจะตรงกับความต้องการของเราหรือมีเวลาตรงกับที่เราต้องการหรือไม่
ซึ่งการทําเช่นนี้จะเห็นได้ว่าเราต้องเสียเวลาและมีโอกาสผิดพลาดได้มาก
ความต้องการในปัจจุบันนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่ความสะดวกและความหลากหลายของสินค้าและบริการบนโลกของอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
แต่ยังมีความต้องการในเรื่องของบริการเว็บไซต์เดียวหรือ One Stop Service หากองค์กรธุรกิจใดสามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้
ก็จะได้เป็นผู้นําในธุรกิจ ซึ่งเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดขณะนี้ก็คือ Web
Services นั่นเอง
เมื่อพิจารณาธุรกิจการท่องเที่ยวต่างประเทศ
องค์ประกอบหลักของการบริการทางธุรกิจจะประกอบด้วยบริการจองตั๋วเครื่องบิน, บริการจองที่พักและโรงแรม,
บริการเช่ายานพาหนะ, บริการข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว,
และบริการทางด้านการเงิน ซึ่งระบบที่ให้บริการเหล่านี้ล้วนมีอยู่บนอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น
หากเราต้องการทําธุรกิจการท่องเที่ยวแบบครบวงจร ในรูปแบบ One Stop Service ด้วยระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันเราก็คงต้องใช้ต้นทุนสูงและต้องแข่งกับองค์กรธุรกิจเดิมที่มีอยู่ในตลาด
ทําให้เสียทั้งเงินลงทุนและเวลาและยังเสี่ยงต่อการล้มเหลวอีกด้วย
ถ้านํา Web Services มาใช้เป็นเครื่องมือธุรกิจสําหรับธุรกิจการท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยองค์กรธุรกิจทางด้านบริการขนส่งทางอากาศ,
โรงแรม, ยานพาหนะสําหรับเช่า, บริการข้อมูลการท่องเที่ยว, และบริการทางด้านการเงิน
เพิ่มบริการผ่านเว็บเซอร์วิสเข้าไปในระบบขององค์กร และเปิดให้บริการ ซึ่งได้ประกาศบริการและลงทะเบียนไว้
กับผู้ให้บริการระบบ UDDI เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นองค์กรธุรกิจด้านการท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีความคิดที่จะสร้างระบบที่ให้บริการการท่องเที่ยวครบวงจรรูปแบบ
One Stop Service ด้วย Web Services ก็ทําการค้นหาบริการและสร้าง
Web Application ที่ทําการเรียกใช้ระบบบริการที่ได้กล่าวข้างต้นขึ้นมาโดยในที่นี้ขอสมมติว่าระบบนี้อยู่ที่เว็บไซต์
www.onestopservicetour.com
เราต้องการไปท่องเที่ยวต่างประเทศและได้วางแผนการท่องเที่ยวเอาไว้แล้ว
ก็เข้าไปที่เว็บไซต์ www.onestopservicetour.com
ระบบ Web Application ก็จะให้ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
ทั่วโลก ซึ่งได้ข้อมูลมาจาก Web Services บริการข้อมูลการท่องเที่ยว
เราก็เลือกประเทศที่ต้องการจะไป จากนั้นระบบจะขอข้อมูลวันที่ต้องการเดินทางและเลือกเที่ยวบินและสายการบินจากรายการซึ่งได้ข้อมูลมาจาก
Web Services บริการขนส่งทางอากาศ เมื่อเราใส่ข้อมูลเรียบร้อยก็จะเข้าสู่การจองโรงแรมและยานพาหนะ
ซึ่งข้อมูลได้มาจาก Web Services บริการโรงแรมและบริการเช่ายานพาหนะ
เมื่อใส่ข้อมูลเพื่อการจองเรียบร้อยแล้วก็ทําการยืนยัน ระบบก็ทําการคํานวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดและแสดงผลออกมาให้เรารับทราบและทําการยืนยันโดยใส่ข้อมูลที่จําเป็นในการทําธุรกรรมการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
แล้วระบบจะทําการส่งข้อมูลในการทําธุรกรรมการเงินของเราไปยังระบบ Web
Services บริการทางด้านการเงินเพื่อทําการโอนเงินจากบัญชีของเราเข้าสู่บัญชีขององค์กรที่เป็นเจ้าของ
เว็บไซต์ www.onestopservicetour.com และระบบจะทําการส่งข้อมูลไปยั
Web Services ต่างๆ ตามข้อมูลที่เราได้ให้ไว้เพื่อทําการจองตั๋วเครื่องบิน, โรงแรม, และยานพาหนะให้เรียบร้อย
ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นในเวลาที่รวดเร็ว
หลังจากที่ระบบได้ทําการจองตั๋วเครื่องบิน, โรงแรม,
และยานพาหนะให้เราเรียบร้อย ก็จะทําการสรุปข้อมูลและแสดงออกมาบนจอ พร้อมข้อมูลที่ใช้ยืนยันว่าได้ชําระค่าใช้จ่ายเรียบร้อยแล้วให้เราเก็บเอาไว้
เป็นหลักฐาน เพียงเท่านี้เราก็พร้อมที่จะเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศแล้ว ทั้งนี้การคิดค่าบริการหรือส่วนแบ่งทางธุรกิจขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้ให้บริการและผู้ขอใช้บริการ
จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่าองค์กรธุรกิจต่างๆ
สามารถนํา Web Services มาเป็นเครื่องมือสําหรับเพิ่มโอกาสทางธุรกิจขององค์กรได้ทันทีโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับระบบขององค์กรและเปิดให้บริการตามความต้องการของลูกค้า
นอกจากนี้เมื่อองค์กรธุรกิจทุกองค์กรทําธุรกิจผ่านทาง Web Services บริการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจะอยู่ในรูปแบบครบวงจร หรือ One Stop
Service ซึ่งรวบรวม Web Services จากที่ต่างๆ
มาให้บริการมากขึ้น ซึ่งในอนาคตอาจเป็นไปได้ว่า Application ทางธุรกิจในด้านต่างๆก็อาจเป็นเพียงแค่การรวมบริการที่แต่ละ
Web Service ขององค์กรธุรกิจต่างๆ มาเท่านั้นเอง